สังเกตอย่างไรระหว่าง แอปฯ กู้เงิน ถูกกฏหมาย กับ แอปฯ กู้เงินปลอม
ปัจจุบันเรามักจะทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์โดยผ่านช่องทางแอปพลิเคชัน เพิ่มความสะดวกสบายโดยไม่จำเป็นต้องเดินทาง สามารถทำที่ไหนก็ได้เพียงแค่มีโทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีรูปแบบหลากหลาย รวมไปถึงการให้สินเชื่อผ่านแอปฯ เป็นที่นิยมของผู้ใช้บริการมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการเพิ่มช่องทางให้กับเหล่ามิจฉาชีพใช้หลอกลวงเหยื่อให้ตายใจ โดยอาศัยช่วงที่ผู้คนส่วนใหญ่ตกอยู่ในสภาวะขัดเคืองทางเศรษฐกิจ ต้องการหาเงินเพื่อนำไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน หรือนำไปหมุนเวียนทางธุรกิจ ซึ่งมีผู้เสียหายตกเป็นเหยื่อมากมาย เพราะแอปพลิเคชันเงินกู้ปลอมที่กำลังระบาดหนักขึ้นเรื่อย ๆ มีความคล้ายกับแอปฯเงินกู้ที่ถูกกฏหมายจนแทบจะแยกไม่ออกเลยทีเดียว วันนี้เราได้รวบรวมวิธีสังเกตแอปพลิเคชันเงินกู้ปลอม มาให้ทุกคนได้นำไปใช้สังเกต เพื่อไม่ให้หลงตกเป็นเหยื่อ โดยสามารถสังเกตได้จากสิ่งต่อไปนี้ สังเกตอย่างไรว่าเป็นแอปพลิเคชันเงินกู้ปลอม ผู้กู้จะต้องโอนเงินไปให้ก่อน มิจฉาชีพนั้นรู้ดีว่า ผู้ที่ต้องการจะกู้เงินย่อมต้องกำลังเดือดร้อนเรื่องเงิน และไม่มีทางเลือกอื่นจนต้องยอมเสี่ยงที่จะกู้เงินออนไลน์ มิจฉาชีพจึงใช้จุดอ่อนตรงนี้นำมาใช้เป็นเหยื่อล่อ ด้วยการให้ผู้ที่จะกู้เงินจะต้องโอนเงินไปให้ก่อน โดยอ้างว่าเพื่อเป็นดอกเบี้ยงวดแรก หรือ เงินมัดจำสำหรับการกู้ยืมและจะได้ส่วนนี้คืน เมื่อผู้ทำการปิดเงินกู้ (คืนครบทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย) หากใครที่พบพฤติกรรมแบบนี้ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่า เข้าข่ายหลอกลวง อาจเป็นมิจฉาชีพ อย่าได้หลงเชื่อไปทำข้อตกลงหรือเผลอไปกดลิงก์ใด ๆ เด็ดขาด มีอัตราดอกเบี้ยและค่าดำเนินการยิบย่อย แอปฯ เงินกู้ปลอมมักจะแอบแฝงไปด้วยค่าใช้จ่ายยิบย่อย ทั้งอัตราดอกเบี้ย ค่าดำเนินการต่าง ๆ ไม่ว่าจะน้อยหรือมาก ก็เป็นสิ่งที่น่าสงสัยและอาจเข้าข่ายแก๊งค์หลอกลวง จึงควรพิจารณาเงื่อนไขต่อไปนี้ ก่อนทำการกู้ใด ๆ เช็กให้ชัวร์ ที่ BOT License Check ก่อนจะทำการกรอกข้อมูลใด ๆ […]