#มาแรง! #อาหาร #เรื่องน่ารู้

ระวัง! กินของดิบ เสี่ยงตายจากพยาธิใบไม้ปอด

จากไวรัล คุณพ่อชาวจีนกินปูเป็น ๆ แก้แค้นแทนลูกสาว ที่ปูน้อยบังอาจมาหนีบมือลูกสาว ขณะที่พากันไปจับปูที่ลำธาร แต่เมื่อผ่านไป 2 เดือน คุณพ่อจากเมืองหางโจว เจ้อเจียง รายนี้ ได้ป่วยจนเกือบเอาชีวิตไม่รอด เพราะได้รับเชื้อปรสิตกว่า 8 ชนิด จากการกินปูดิบในวันนั้น!  

ไม่น่าเชื่อว่าการกินลูกปูดิบเพียงแค่ตัวเดียว จะส่งผลให้เขาติดเชื้อปรสิตกว่า 8 ชนิด และมีอาการป่วยหนักจนแทบไม่รอดชีวิต เพราะหาสาเหตุไม่ได้ในตอนเข้าพบแพทย์ในตอนแรก แถมอาการทรุดลงเรื่อย ๆ และหากภรรยาของชายผู้นี้ระลึกไม่ได้ว่าสามีของเธอเคยกินลูกปูเป็น ๆ เมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยสาเหตุและตรวจเลือดหาปรสิตทันที จนพบว่าในบรรดาแอนติบอดี จนพบพยาธิใบไม้ในตับ โรคพยาธิใบไม้ปอดชนิดพาราโกนิมัส และโรคสปาร์กาโนซิส ที่ล้วนแต่เป็นผลบวกทั้งสิ้น หลังจากตรวจพบสาเหตุที่แท้จริงและได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาการของนายลู่ก็เริ่มดีขึ้นและฟื้นฟูจนสามารถออกจากโรงพยาบาลและกลับบ้านได้ 

นี่ไม่ใช่รายแรกที่มีการติดเชื้อปรสิตจนป่วย เนื่องจากการกินสัตว์ดิบ หรือสัตว์ที่ยังเป็น ๆ โดยไม่ผ่านการปรุงสุกเสียก่อน เพราะในประเทศไทยเองก็มีการเตือนและรณรงค์จากกรมสาธารณสุข , กรมอนามัย ,ศูนย์วิจัยโรคปรสิตแห่งประเทศไทยมานาน ถึงเรื่องการกินอาหารไม่ผ่านการปรุง โดยเฉพาะการทานเนื้อสัตว์ดิบ เนื้อสัตว์เป็น ๆ ไม่ว่าจะเป็นคอส้มตำ คนชอบกินอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ หรือเมนูแปลก ๆ ที่มักนำสัตว์เป็น ๆ มาเป็นอาหาร เช่น ปูดอง ปูร้า กุ้งเต้น ก้อย ลาบเลือด ยำเนื้อสด หมึกช็อต เป็นต้น เพราะบางเมนูนอกจากจะทรมานสัตว์แล้ว ยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อและปรสิตต่าง ๆ จากในสัตว์เหล่านั้นอีกด้วย เพราะไม่มีสิ่งใดสามารถฆ่าตัวอ่อนที่มีลักษณะเป็นถุงของปรสิตเอนโดปาราไซต์ที่มีในสัตว์บางชนิด เสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก และบางคนอาจแพ้รุนแรงจนเสียชีวิตในที่สุด 

ที่มา : https://www.tropmedhospital.com/knowledge/lungflukes.html

ในประเทศไทยมีพยาธิใบไม้ปอด 7 ชนิด คือ Paragonimus heterotremus , P. pseudoheterotremus , P. westermani , P. macrorchis , P. harinasutai , P.siamensis และ P. bangkokensis แต่ที่มีรายงานว่าสามารถก่อโรคในคนได้คือ 3 ชนิดแรก 

ที่มา : https://w1.med.cmu.ac.th/parasite/trematodes01/2031/

โรคพยาธิใบไม้ปอดคืออะไร (Lung flukes) 

โรคพยาธิใบไม้ปอด คือ พยาธิชนิด Paragonimus heterotremus (พาราโกนิมัส) , Paragonimus westermani เป็นพยาธิที่ชอบเข้าไปอาศัยอยู่ในปอด และอาจไชไปอยู่ที่อวัยวะอื่นได้ เช่น ตับ ลำไส้ เยื่อบุช่องท้อง กล้ามเนื้อ และ สมอง ทำให้อวัยะเหล่านั้นมีอาการผิดปกติ โรคนี้เกิดได้ในคน และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด เช่น สุนัข แมว ลิง พังพอน เป็นต้น 

พยาธิใบไม้ปอด ลักษณะเป็นอย่างไร 

พยาธิชนิด Paragonimus heterotremus (พาราโกนิมัส)

พยาธิชนิด Paragonimus westermani

ที่มา : https://vet.kku.ac.th/pathology/somboon/DOGhelminth/lecfluke_parahet.htm

แหล่งที่มักพบโรคใบไม้ปอด 

มักจะพบโรคนี้ได้ในหลายประเทศของทวีปเอเชีย แอฟริกา และ อเมริกาใต้ ส่วนในประเทศไทยมักจะพบได้ในบางท้องที่ เช่น จังหวัดสระบุรี นครนายก เพชรบูรณ์ ราชบุรี เลย น่าน เชียงราย 

พยาธิใบไม้ปอด อาการเป็นอย่างไร 

คนไข้มีอาการเจ็บหน้าอก ไอเรื้อรัง โดยเริ่มจากไอเล็กน้อย แล้วค่อยเพิ่มมากขึ้น มักมีเสมหะสีขาว แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นสีเขียว หรือสีสนิม และอาจมีเลือดปนออกมากับเสมหะ หรือมีก้อนเล็กสีเหลืองทองปนมากับเสมหะ และเมื่อนำไปส่องกล้องจะพบไข่พยาธิจำนวนมาก มักจะมีอาการช่วงเช้าหรือเมื่อทำงานหนัก อาการคล้ายวัณโรคแต่ไม่มีไข้ หรืออาจมีไข้ต่ำ ๆ หอบ เหนื่อยง่าย วิงเวียนศีรษะบ่อย แต่จะไม่ดูโทรม 

โรคพยาธิใบไม้ปอด เกิดจากอะไร 

การติดต่อโรคพยาธิใบไม้ปอดเกิดจากการกินอาหารดิบ กินเนื้อสัตว์ดิบที่ไม่ผ่านการปรุงสุกดี โดยเฉพาะสัตว์น้ำ อย่าง ปูน้ำจืดดิบ กุ้งดิบ ปลาดิบ หอย หรือ ผ่านความร้อนสั้น ๆ อย่าง การลวกเนื้อสัตว์ไปยำ การใช้มะนาวบีบใส่แทนการปรุงสุก เช่น พล่าปู พล่ากุ้ง ส้มตำกุ้งสด ยำปูสด เป็นต้น ซึ่งในตัวสัตว์น้ำเหล่านี้มักจะมีปรสิตหลากหลายชนิด โดยเฉพาะพยาธิใบไม้ในปอด เพราะเมื่อกินของดิบบ่อย ปูดิบ และสัตว์น้ำดิบเข้าไป ย่อมมีโอกาสที่จะกินไข่หรือตัวอ่อนของพยาธิเข้าไปด้วย ซึ่งน้ำย่อยในกระเพาะของเราไม่สามารถฆ่าให้ตายได้ เพราะถึงแม้พยาธิจะไม่สามารถแพร่พันธ์ุในตัวเราได้ แต่สามารถชอนไขเข้าไปในปอด ฟักตัว และมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 1 เดือน ส่งผลให้มีอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ตามอาการที่กล่าวมาแล้วข้างต้น 

การรักษาโรคพยาธิใบไม้ปอด 

การรักษาจะใช้ยาปฏิชีวนะ ได้แก่ พราซิควอนเทล นิโคลโฟแลน และ ไบไธโอนิล ซึ่งยาเหล่านี้จะมีผลข้างเคียงค่อนข้างมาก การรักษาจึงต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น 

การป้องกันโรคพยาธิใบไม้ปอด 

1. ประกอบอาหารกินเองจะดีที่สุด และจะต้องเป็นอาหารผ่านการปรุงสุก โดยจะต้องล้างน้ำให้สะอาด เพื่อลดการปนเปื้อนเชื้อโรค พยาธิ สารเคมีตกค้าง และต้องปรุงสุก โดยใช้ความร้อนให้อาหารสุกอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะเนื้อสัตว์จะต้องให้สุกถึงข้างใน และแยกอาหารที่ปรุงสุก กับ อาหารที่ยังไม่สุกออกจากกัน 

2. กรณีซื้ออาหารหรือทานอาหารที่ร้าน ควรเลือกร้านที่ติดป้ายสัญลักษณ์ที่กรมอนามัยรับรอง Clean Food Good Taste หรือ “อาหารสะอาด รสชาติอร่อย” 

3. ยึดหลัก “ล้างมือ กินร้อน ช้อนส่วนตัว” เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคที่มีอาหารและน้ำเป็นสื่อ เช่น โรคอาหารเป็นพิษ โรคอุจจาระร่วง โรคพยาธิใบไม้ปอด และโรคจากปรสิตต่าง ๆ