#มาแรง! #เรื่องน่ารู้

พารู้จัก “วิทยุทรานซิสเตอร์” อุปกรณ์สำคัญในการรับมือภัยพิบัติ

เมื่อ วิทยุทรานซิสเตอร์ ถูกกล่าวถึงโดย นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในวาระการประชุมการบริหารจัดการน้ำท่วมร่วมกับผู้ว่าราชการทุกจังหวัด แล้วได้ระบุถึงการใช้บริการไฟฟ้า การประปา และการโทรศัพท์ให้ได้นานที่สุด เพราะหากเกิดการล่มทุกระบบ อาจทำให้ไม่สะดวกในการสื่อสารแจ้งข้อมูล และคงต้องย้อนกลับพิจารณาการใช้ วิทยุทรานซิสเตอร์ เพื่อออกอากาศแจ้งเตือนประชาชนแทน 

จากดังกล่าวทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์และเกิดแตกเสียงเป็นสองฝ่าย ทั้งฝ่ายค้านและเห็นเป็นเรื่องตลกขบขัน และฝ่ายเห็นด้วยเพราะมันมีเหตุมีผล หากระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ใช้ไม่ได้ การกลับไปใช้ระบบเก่าที่เคยงานได้มาก่อนก็ไม่ใช่เรื่องแปลก และการก้าวถอยหลังกลับไปไม่กี่ก้าว เพื่อตั้งหลักให้ไปต่อได้ มันก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร และวิทยุทรานซิสเตอร์ก็เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ช่วยชีวิตที่มีอยู่ในถุงยังชีพ และแม้แต่ในต่างประเทศเองก็มักจะใช้วิทยุทรานซิสเตอร์ในการติดตามข่าวสารในกรณีที่เกิดภัยพิบัติจนระบบไฟฟ้าถูกตัดขาด และระบบการสื่อสารปกติไม่สามารถใช้งานได้ 

บทความนี้เราจะไม่กล่าวพาดพิงถึงฝ่ายใด แต่เราจะมาทำความรู้จักกับวิทยุซานซิสเตอร์ให้มากขึ้นกันดีกว่า 

วิทยุทรานซิสเตอร์คืออะไร 

วิทยุทรานซิสเตอร์ คือ วิทยุขนาดเล็กที่มีรูปทรงสี่คล้ายกล่องเหลี่ยมคล้าย สามารถหิ้วพกพาไปไหนมาได้สะดวก เป็นอุปกรณ์ที่ใช้หลักการขยายสัญญาณหรือสลับสัญญาณ ซึ่งสมัยก่อนคนไทยส่วนใหญ่จะใช้วิทยุหลอดที่มีขนาดใหญ่ หนัก และใช้ถ่านจำนวนมาก ไม่สามารถยกไปฟังนอกบ้านได้ อีกทั้งมีเสาอากาศสูงทำให้บ้านเรือนที่ห่างไกลแทบจะรับสัญญาณไม่ได้เลย จนกระทั่งเบลแล็ปได้ขายลิขสิทธิ์เทคโนโลยีทรานซิสเตอร์ให้กับบริษัทต่าง ๆ ให้นำไปพัฒนาต่อ ได้นำไปบรรจุลงในวิทยุ จนกลายเป็น “วิทยุทรานซิสเตอร์” 

ประวัติวิทยุทรานซิสเตอร์ 

มาดูว่าวิทยุทรานซิสเตอร์ประวัติเป็นมายังไงกันดีกว่า โดยเราได้นำข้อมูลอ้างอิงมาจากนิตยสารศิลปวัฒนธรรม เรื่องตำนานวิทยุไทย ได้มีสาระสำคัญระบุไว้ดังต่อไปนี้ 

วิทยุได้ถือกำเนิดจากจุดเริ่มต้นเมื่อ เจมส์ เคลิร์ก แมกซ์เวลล์ (James Clerk Maxwell) ชาวสกอตแลนด์ ได้ค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในปี 2407 และอีก 22 ปีต่อมา ซึ่งตรงกับปี 2499 ได้มีนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน นามว่า รูดอล์ฟ ไฮน์ริช เฮิรตซ์ (Rudolph Heinrich Hertz) ได้คิดผลิตเครื่องอุปกรณ์ที่สามารถใช้กับคลื่นไฟฟ้าในอากาศของแมกซ์เวลล์ได้ เพื่อนำมาต่อยอดในการใช้ประโยชน์ได้มากขี้น โดยได้มีการตั้งชื่อสิ่งนี้ว่า Hertzain Waves และต่อมาก็ได้มีการเรียกคลื่นวิทยุนี้ว่า เฮิรตซ์ เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ผู้ค้นพบ 

กูกลิเอลโม มาร์โคนี นักประดิษฏิ์ชาวอิตาเลียน

ต่อมาในปี 2438 ได้มีชาวอิตาเลียน คือ นาย กูกลิเอลโม มาร์โคนี (Guglielmo Marconi) ได้ทดลองถ่ายทอดกระแสไฟฟ้าเพื่อส่งสัญญาณด้วยหลักทฤษฏีของเฮิรตซ์ โดยมีเพียงแบตเตอรี่ ลวดทองแดง แผ่นทองแดง และว่าว เป็นเครื่องมือในการทดลอง ซึ่งมาร์โคนีนั่งเรือจากเกาะอังกฤษไปขึ้นบกที่นิวฟันด์แลนด์ จากนั้นก็ได้นำว่าวที่มีสายป่านทำด้วยลวดทองแดงลอยขึ้นสู่อากาศ โดยสายลวดทองแดงก็เปรียบเสมือนเป็นสายอากาศ ทำหน้าที่ส่งสัญญาณไปยังเครื่องรับที่มาร์โคนีได้ทำการคิดค้นเอาไว้ แม้ว่าจะในครั้งแรกจะมีเพียงแค่เสียงครืด ๆ เท่านั้น แต่นั่นก็คือเสียงแรกที่มวลมนุษย์ได้ยินจากเครื่องรับวิทยุ  

ต่อมาในปี 2438 กูกลิเอลโม มาร์โคนี (Guglielmo Marconi) ชาวอิตาเลียน ได้นำเอาทฤษฎีของเฮิรตซ์มาทดลองถ่ายทอดกระแสไฟฟ้าเพื่อส่งสัญญาณ เครื่องมือทดลองในเบื้องต้นมีเพียงแบตเตอรี่ ลวดทองแดง แผ่นทองแดง และว่าว โดยมาร์โคนีนั่งเรือจากเกาะอังกฤษไปขึ้นบกที่นิวฟันด์แลนด์ แล้วเอาว่าวที่สายป่านเป็นลวดทองแดงชักขึ้นไปในอากาศ สายลวดทองแดงจึงเปรียบเสมือนสายอากาศนั่นเอง โดยทำหน้าที่ส่งสัญญาณไปยังเครื่องรับ ซึ่งมาร์โคนีได้คิดค้นไว้แล้ว

ตลอดระยะเวลากว่า 3 ปี ที่มาร์โคนีได้ทำการทดลอง และสร้างสถานีวิทยุกระจายเสียงออกอากาศให้คนได้ฟังเมื่อต้นปี 2441 แม้ว่าจะสามารถออกอากาศได้ในระยะสั้น ๆ แต่ Daily Express หนังสือพิมพ์ในลอนดอนก็ได้ซื้อเครื่องรับส่งของมาร์โคนีไว้ 1 ชุด เพื่อใช้ในการทำข่าว และจากการพัฒนาอยู่เรื่อย ๆ ของมาร์โคนี่ ทำให้เขาประสบความสำเร็จในการส่งวิทยุกระจายเสียงข้ามช่องแคบอังกฤษได้ในที่สุด เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2442 และสามารถส่งกระจายเสียงข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกได้สำเร็จในปีถัดมา  

จอห์น แอมโบรส เฟลมมิง (John Ambrose Fleming) ได้นำหลอดไฟฟ้าของโธมัส เอดิสัน มาใช้เป็นหลอดวิทยุแทนแร่ เพื่อแก้ปัญหาสัญญาณคลื่นวิทยุไม่ชัดเจนและมีเสียงเบา ทำให้ต้องใช้ตัวเครื่องครอบหูฟัง และเขาก็สามารถทำได้สำเร็จในปี 2447 กลายเป็นผลงานชิ้นเอกของจอห์น เพราะเขาสามารถทำให้วิทยุกระจายเสียงส่งคลื่นได้ไกลและชัดเจนมากขึ้น

วิทยุทรานซิสเตอร์ในประเทศไทย 

ความสำเร็จในการประดิษฐ์วิทยุหลอดของเฟลมมิ่ง ตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 ของสยาม โดยนายช่างวิทยุของบริษัทเทเลฟุงเก้น (Telefunken) ได้ติดต่อกระทรวงโยธาธิการเพื่อให้นายช่างวิทยุเดินทางมาทดลองเครื่องรับส่งวิทยุเพื่อเสนอแก่รัฐบาลสยาม โดยจัดตั้งสถานีวิทยุชั่วคราวที่ภูเขาทองและเกาะสีชัง แต่ผลที่ได้กลับไม่เป็นที่น่าพอใจนัก จากนั้นก็ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

กรมพระกำแพงเพ็ชรฯ ผู้ริเริ่มวิทยุกระจายเสียง 

ในช่วงระหว่าง ปี พ.ศ.2470 – 2472 ประเทศไทยได้ถือกำเนิดวิทยุกระจายเสียง โดยมี พล.อ.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ได้ทรงริเริ่มทดลองส่งวิทยุกระจายเสียงเป็นครั้งแรก จึงได้ถือกำหนดให้ทุก ๆ วันที่ 25 กุมภาพันธุ์ เป็น “วันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ” 

ในยุคของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้นำวิทยุมาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในทางการเมือง เพื่อสร้างลัทธิผู้นำ โดยมีการกระจายเสียงรายการสนทนาของนายมั่น นายคง ในปี 2482 ซึ่งเป็นรายการสนทนาที่สลับด้วยการเปิดเพลงปลุกใจ โดยมีความยาวประมาณ 30 นาที และเริ่มกระจายเสียงในเวลา 19.00 น. และต่อมาในปี 2484 ได้มีการเปลี่ยนชื่อสถานีวิทยุกรุงเทพฯ พญาไท เป็น “สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย” ยิ่งไปกว่านั้นยังมีคำสั่งให้มีการเปิดวิทยุกระจายเสียงในทุกจังหวัด เพื่อชักชวนให้ประชาชนได้ฟังวิทยุซึ่งเป็นปากเสียงสำคัญของรัฐบาล แต่แล้วการกระจายเสียงวิทยุต้องมีการหยุดชะงัก เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 2488 เนื่องจากโรงไฟฟ้าลัดเลียบและโรงไฟฟ้าสามเสนได้ถูกระเบิดเสียหาย และกิจการวิทยุกระจายเสียงได้ฟื้นกลับมาอีกครั้ง หลังจากสงครามโลกสงบลง ในปี 2489 โดยมีสถานีวิทยุ 1 ป.ณ. เป็นสถานีวิทยุแห่งแรกที่ส่งกระจายเสียงควบคู่กับสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยของกรมโฆษณา 

สถานีวิทยุกรุงเทพฯ พญาไท

วิทยุทรานซิสเตอร์ในปัจจุบันทำอะไรได้บ้าง 

  • รองรับสัญญาณระบบคลื่น AM และ FM 
  • มีเสาอากาศเป็นตัวรับสัญญาณ 
  • ใช้ระบบการหมุนหาคลื่นความถี่ 
  • เครื่องรับสัญญาณที่สามารถสื่อสารได้ทางเดียว
  • ถูกพัฒนาให้ชาร์จไฟเพื่อการใช้งาน และบางรุ่นสามารถใช้ระบบโซลาเซลล์ได้  

วิเคราะห์สาเหตุทำไม พล.อ.ประยุทธ์ เสนอซื้อวิทยุทรานซิสเตอร์แจกประชาชน 

เนื่องจากแต่ละพื้นที่ในประเทศไทยได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมไม่เท่ากัน ในกรณีบางพื้นที่ ที่เกิดระบบการประปา การไฟฟ้า และโทรศัพท์ขัดข้องทั้งหมด ทำให้การสื่อสาร การติดตามข่าวและสถานการณ์ต่าง ๆ เป็นไปอย่างยากลำบาก หรืออาจไม่สามารถติดตามรับข่าวสารใด ๆ ได้เลย ดังนั้นอาจต้องมีการเตรียมแผนรับมือสถานการณ์น้ำท่วม ด้วยการนำวิทยุทรานซิสเตอร์แจกแก่ประชาชนในพื้นที่มีน้ำท่วม เหมือนเช่นที่เคยใช้เมื่อปี 2554 เพราะตอนนั้นไฟฟ้าดับหมด และได้มีการแจกวิทยุฯ ไปพร้อมกับถุงยังชีพ เพื่อช่วยเหลือประชาชน 

แม้ว่าหลายคนอาจจะไม่เห็นด้วยกับโครงการนี้ เพราะคิดว่ายังมีระบบอินเทอร์เน็ตใช้ เพียงแค่อ่านข่าวในโทรศัพท์ ส่ง sms ฟังยูทูป ฯลฯ ดีกว่า รวดเร็วกว่า วิทยุทรานซิสเตอร์เก่า ๆ และประเทศไทยคงไม่ไปถึงจุดที่จะต้องย้อนกลับไปยังจุดตั้งต้น แต่อย่าลืมว่า ความไม่แน่นอนคือสิ่งที่แน่นอนกว่า และทุกสิ่งย่อมเกิดขึ้นได้ในโลกกลม ๆ (ที่เริ่มเบี้ยว) ใบนี้ ได้ทั้งสิ้น ว่าแต่…จะเล็งวิทยุทรานซิสเตอร์ยี่ห้อไหนดีน้าา