#เรื่องน่ารู้

ทำไมต้องมีการตรวจสอบคุณภาพระบบไฟฟ้าโรงงานประจำปี

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของหลาย ๆ ประเทศนั้น มีระบบโรงงานอุตสาหกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องแทบจะทุกประเภท และแน่นอน ภายในโรงงานจะมีการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรต่าง ๆ เข้ามาใช้ในการควบคุมกระบวนการผลิตเป็นจำนวนมาก และเครื่องจักรต่าง ๆ เหล่านี้ จะไม่สามารถทำงานได้เลยหากไม่มี กระแสไฟฟ้า พลังงานหลักของทุกขั้นตอนการผลิต ที่มีความสำคัญต่อโรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนการผลิตสินค้าดำเนินต่อไปได้ 

ดังนั้นจึงต้องมีการตรวจสอบคุณภาพระบบไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้าของโรงงานอย่างสม่ำเสมอ เพราะหากระบบไฟฟ้ามีปัญหา ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานของเครื่องจักร อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบการทำงานหยุดชะงัก ก่อให้เกิดความเสียหายมหาศาล เช่น เมื่อครั้งไฟดับ (power crunch) ที่ประเทศจีน จนกลายเป็นวิกฤติที่ลามจากโรงงานอุตสาหกรรม ไปถึงชาวบ้านอย่างวงกว้าง และส่งผลกระทบต่อโรงงาน Apple และ Tesla จนกลายเป็นห่วงโซ่อุปทาน หรือ Supply chain ไม่เพียงแค่นั้น หลายเหตุการณ์ไฟไหม้โรงงานที่สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินมานักต่อนักนั้น มักจะมีสาเหตุมาจากระบบไฟฟ้าเช่นกัน จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมจึงมีข้อกฏหมายให้โรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภทจะต้องมีการตรวจสอบคุณภาพระบบไฟฟ้าประจำปี 

ปัญหาระบบไฟฟ้าโรงงานที่พบบ่อย ไฟกระชาก ไฟตก ไฟดับ ไฟเกิน มีสัญญาณรบกวน จนส่งผลกระทบการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในโรงงานอยู่เสมอ และสาเหตุก็เกิดได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน 

  • ติดตั้งระบบไฟฟ้าโรงงานไม่ถูกต้องตามระบบไฟฟ้าพื้นฐาน เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าในระบบไฟฟ้าอาคาร และระบบไฟฟ้าโรงงาน
  • ใช้และติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่มีมาตรฐาน ไร้คุณภาพ เพราะเน้นราคาถูก 
  • ผู้ใช้งานขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าโรงงาน 
  • ไม่ให้ความสำคัญกับตำแหน่งผู้ดูแลบำรุงรักษาระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าเท่าที่ควร 
  • ขาดช่างเทคนิคไฟฟ้าที่เชี่ยวชาญด้านการดูแลระบบไฟฟ้าโรงงานอุตสาหกรรม
  • ขาดความเอาใจใส่ในการดูแล บำรุงรักษาระบบไฟฟ้า และการตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าประจำปี

วิธีป้องกันการเกิดปัญหาในระบบไฟฟ้าโรงงาน 

เนื่องจากอุปกรณ์ไฟฟ้า คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่สื่อกลางในการเชื่อมต่อระหว่างกระแสไฟฟ้า จากโรงไฟฟ้าสู่อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เพื่อให้สามารถทำงานได้ และโรงงานใช้ปริมาณไฟฟ้ามากกว่าอาคารทั่วไป จึงมักพบปัญหาเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าได้บ่อยครั้ง ทำให้โรงงานต้องมีการดูแลและใส่ใจในระบบป้องกันให้มากเป็นพิเศษ 

  • โรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภทต้องมีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าโรงงาน และบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าโรงงานประจำปี
  • โรงงานจะต้องมีช่างเทคนิคไฟฟ้า หรือวิศวกรไฟฟ้า ที่มีองค์ความรู้และความสามารถในระบบไฟฟ้า ตั้งแต่การดูแล ควบคุม และการซ่อมแซมระบบไฟฟ้าพื้นฐานได้ 
  • มีการประสานงานระหว่างฝ่ายผลิตและฝ่ายซ่อมบำรุงไฟฟ้าให้ชัดเจนอย่างสม่ำเสมอ 
  • เลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน เป็นที่รู้จักในวงกว้าง เช่น อุปกรณ์ไฟฟ้า Schneider Yazaki เป็นต้น เพื่อเน้นคุณภาพและความปลอดภัยมากกว่าราคาที่ต้องจ่าย 
  • เลือกร้านจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าโรงงานที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้มั่นใจว่าจะได้อุปกรณ์ไฟฟ้ามีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ปลอดภัย และเหมาะสมต่อระบบไฟฟ้าโรงงานอุตสาหกรรม  (ระบบไฟฟ้าโรงงาน 3 เฟส 4 สาย ต่างจากไฟฟ้าบ้านที่ใช้เพียง 1 เฟส) 

ปัจจัยในการพิจารณาระบบไฟฟ้าโรงงานอุตสาหกรรม

โรงงานอุตสาหกรรมแต่ละประเภทนั้น จะมีการออกแบบระบบไฟฟ้าที่แตกต่างกันออกไป หรือแม้แต่โรงงานประเภทเดียวกันก็อาจมีระบบไฟฟ้าที่ไม่เหมือนกัน แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม การออกแบบระบบไฟฟ้าโรงงาน จะมีการนำปัจจัยต่าง ๆ มาใช้ประกอบในการพิจารณา เนื่องจากระบบไฟฟ้าโรงงานอุตสาหกรรมมีความซับซ้อนมากกว่าระบบไฟฟ้าอาคารบ้านเรือนทั่วไป และการจ่ายไฟแต่ละโรงงานก็ยังมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้ 

  • ขนาดของโรงงานและกำลังไฟฟ้าที่ใช้ จะมีผลต่อการเลือกระดับแรงดันของระบบไฟฟ้าโรงงาน ต่อเนื่องไปยังการลงทุนกับอุปกรณ์ไฟฟ้า มาตรฐานการควบคุมการจ่ายไฟจากการไฟฟ้าฯ มายังโรงงาน ไปจนถึงอัตราค่าไฟฟ้า 
  • กระบวนการผลิตของอุตสาหกรรม ด้วยอุตสาหกรรมบางประเภทมีกระบวนการผลิตที่ต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ หรือ อุตสาหกรรมปิโตเลียม เป็นต้น ซึ่งประสิทธิภาพของระบบไฟฟ้า และมาตรฐานของอุปกรณ์ไฟฟ้ามีผลกระทบต่อผลผลิตสูง หรือบางอุตสาหกรรมที่มีลักษณะการใช้ไฟฟ้ากระชากเป็นช่วง ๆ เช่น อุตสาหกรรมโม่เหล็ก โรงงานเชื่อมเหล็ก โรงโม่หิน ฯลฯ จะต้องควบคุมระบบไฟฟ้า และติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าโดยคำนึงถึงความปลอดภัยสูง 
  • ประเภทของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในโรงงาน เนื่องจากอุปกรณ์ไฟฟ้ามีความต้องการคุณภาพของแหล่งจ่ายไฟในระดับที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับประเภทของอุปกรณ์ไฟฟ้า และ ลักษณะการใช้งาน จึงต้องออกแบบและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีกำลังไฟเหมาะสมและปลอดภัยในการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม และการติดตั้งระบบที่เหมาะสม ทำให้สามารถใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าได้หลากหลาย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตของโรงงานได้เป็นอย่างดี 
  • ปัจจัย ทุน และความเสี่ยงหากมีการหยุดการผลิต อีกข้อปัจจัยสำคัญต่อการลงทุนในระบบไฟฟ้าแต่ละโรงงาน ด้วยการนำหลักการทางเศรษฐศาสตร์มาวิเคราะห์ เพื่อหาความเหมาะสมและเป็นแนวทางในการใช้ประกอบการตัดสินใจ รวมไปถึงความแม่นยำในการประมาณการของวิศวกรผู้ออกแบบ จะช่วยเสริมความแม่นยำของผลการวิเคราะห์ในการตัดสินใจของผู้บริหารโรงงานด้วยเช่นกัน 

ซึ่งทั้งหมดนี้คือเหตุความสำคัญที่เจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการพึงให้ความสำคัญในคุณภาพของอุปกรณ์ไฟฟ้า ดูแลบำรุงรักษา และตรวจคุณภาพระบบไฟฟ้าเป็นประจำทุกปี หรือหมั่นเช็คอุปกรณ์ไฟฟ้าสม่ำเสมอ และควรมีช่างเทคนิคการไฟฟ้าหรือวิศวกรไฟฟ้าในโรงงาน อย่าคิดว่าไม่จำเป็น และเลือกใช้พนักงานในโรงงานดูแลกันเอง เพราะเมื่อเกิดปัญหาระบบไฟฟ้า ความเสียหายที่เกิดขึ้นตามมาอาจยากเกินจะแก้ไข และอาจไม่คุ้มกับความสูญเสีย อย่าเสียดายต่อการลงทุน จะได้ไม่เสี่ยงและเข้าตำราที่ว่า “เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย”