#ความงาม #สุขภาพ #เรื่องน่ารู้

ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนเกิดจากอะไร 

ใคร ๆ ก็อยากสวย หล่อ ดูดี แม้วัยล่วงเลยกี่ปีไม่เกี่ยว สารพัดการทำเสริมความงามจึงต้องมี และต้องยอมรับว่า ธุรกิจความงามในเมืองไทยนั้นเฟื่องฟูสุด ๆ แต่ใช่ว่าทุกคนที่ยอมเสียเงินเพื่อความงามแล้วจะได้ผลลัพธ์ตามต้องการ หลายคนที่ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นลำ หรือเติมฟิลเลอร์คางอักเสบ หลากหลายปัญหาที่ตามมาแตกต่างกันไป แต่ที่เหมือนกันคือทำแล้วได้ผลไม่เป็นที่น่าพอใจ สำหรับใครที่กำลังเจอกับปัญหา ฉีดฟิลเลอร์แล้วหน้าบวม เป็นก้อนแลดูไม่เป็นธรรมชาติ เกิดจากสาเหตุอะไร และจะแก้ไขอย่างไรได้บ้าง 

ฟิลเลอร์เป็นก้อนเกิดจากอะไร 

ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน ไม่ว่าจะเป็นการฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้ม ใต้ตา หรือฉีดฟิลเลอร์ปากแล้วเป็นก้อน ส่วนมากเกิดจากคุณภาพของฟิลเลอร์ เทคนิคและมาตรฐานของการฉีดของแพทย์ผู้ทำการรักษา ซึ่งอาการของการเกิดก้อนนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ ภาวะการเกิดก้อนที่มีการอักเสบ และ ภาวะการเกิดก้อนที่ไม่อักเสบ  

ภาวะการเกิดก้อนที่มีอาการอักเสบคืออะไร 

ภาวะการเกิดก้อนอักเสบที่พบส่วนใหญ่ สามารถเกิดได้จากก้อนเดียวหรือหลายก้อนก็ได้ โดยมักจะมีอาการบวม แดง กดแล้วเจ็บ และอาจมีหนองร่วมด้วย ซึ่งจะเกิดหลังจากฉีดฟิลเลอร์ใน 48 ชั่วโมงแรก เป็นสัปดาห์ เป็นเดือน หรือเป็นปี แล้วแต่รายบุคคล โดยสาเหตุที่พบเกิดได้จากหลายปัจจัย ดังนี้ 

  • การติดเชื้อ เกิดจากใช้ฟิลเลอร์ไม่มีคุณภาพ ไม่ได้มาตรฐาน ฟิลเลอร์ปลอม ส่งผลให้ฟิลเลอร์มีการปนเปื้อนของเชื้อโรค และเกิดเป็นก้อน รวมไปถึงอาการต่าง ๆ ตามมาดังกล่าว 
  • ภาวะแพ้ เนื่องจากฟิลเลอร์คือสิ่งแปลกปลอมของร่างกาย ทำให้ร่างกายมีการกระตุ้นภูมิคุ้มกันออกมาเพื่อต่อต้านและกำจัดสิ่งแปลกปลอมออกจากร่างกาย จึงทำให้มีอาการต่าง ๆ ดังกล่าวเกิดขึ้น ซึ่งอาจพบได้แบบเฉียบพลัน หลังจากได้รับฟิลเลอร์เข้าสู่ร่างกายภายใน 48 ชั่วโมง หรืออาจล่าช้ากว่านั้นเป็นเวลาหลายสัปดาห์ หรือเป็นปี ๆ เลยทีเดียว 

ภาวะการเกิดก้อนที่ไม่อักเสบคืออะไร 

การเกิดก้อนที่ไม่มีอักเสบมักจะเป็นก้อนเดี่ยว ๆ ตรงบริเวณที่มีการฉีดฟิลเลอร์ โดยสามารถรู้สึกได้ชัดเจนเมื่อคลำ แต่จะไม่มีอาการบวม แดง และไม่เจ็บ และขนาดของก้อนจะไม่มีการขยายขึ้นกว่าเดิม ซึ่งภาวะแบบนี้เกิดได้จาก 3 สาเหตุด้วยกัน คือ 

  • ฉีดสารฟิลเลอร์ผิดวิธี ฉีดฟิลเลอร์ตื้นเกินไป หรือใส่มากเกินไป โดยสาเหตุเหล่านี้ล้วนแต่มาจากความไม่ชำนาญของผู้ฉีดฟิลเลอร์ ไม่มีมาตรฐานการฉีด หรืออาจเป็นหมอปลอม จำพวกหมอกระเป๋า ทำให้มีการฉีดฟิลเลอร์ไม่ได้มาตรฐาน หรือเติมฟิลเลอร์ผิดชั้นจนทำให้เกิดเป็นก้อน เพราะผู้เชี่ยวชาญด้านการฉีดฟิลเลอร์จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับสรีระบนใบหน้า ผิวหนัง กล้ามเนื้อ ไปจนถึงชั้นไขมัน รวมไปถึงรูปกระดูกของใบหน้า เพื่อทำการจัดสรรแบ่งส่วนในการฉีดฟิลเลอร์อย่างไรให้ปลอดภัย โดยเฉพาะบริเวณใต้ตาซึ่งมีหลายชั้นผิว หากไม่ใช่แพทย์ผู้ชำนาญฉีดฟิลเลอร์ ใต้ตาเป็นลำเป็นก้อนได้ 
  • ฟิลเลอร์เคลื่อนตัวผิดตำแหน่ง เนื่องจากแพทย์ฉีดฟิลเลอร์ผิดชั้น และอาจฉีดเข้าบริเวณใบหน้า ส่วนที่มีการขยับบ่อย ๆ  ทำให้ฟิลเลอรืมีการเคลื่อนตัวผิดตำแหน่งได้ เช่น การฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้ม ฟิลเลอร์ปาก หรือ ขมับ เป็นต้น 
  • ใช้ฟิลเลอร์ไม่มีมาตรฐาน หรือฟิลเลอร์ที่ไม่ใช่สาร Hyaluronic acid ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้เนื้อเจลกลืนไปกับผิวหลังจากฉีดฟิลเลอร์ แต่ถ้าใช้ฟิเลอร์ที่ไร้คุณภาพ หรือไม่ผ่านอย. ก็อาจทำให้ฟิลเลอร์เป็นก้อนแข็ง เนื่องจากไม่สามารถสลายได้เอง กลายเป็นก้อนและทำให้หน้าบวม แต่ไม่มีอาการอักเสบใด ๆ